การดำเนินงานตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว

สรุปการดำเนินงาน
ตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว
ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย (พ.ศ.2558)

banner-oper0

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเป็นห้องสมุดสีเขียวตามเกณฑ์ เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2558)  ซึ่งประกอบด้วย 8 หมวดดังนี้

หมวดที่ 1 ทั่วไป การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์

ผู้บริหารห้องสมุดมีการกำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารงานห้องสมุด รวมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและยุทธศาสตร์ตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว และมีการประกาศให้ทราบทั่วกัน

  1. การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์
  2. มีการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และนำไปสู่การกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ การเป็นห้องสมุดสีเขียว
  3. กำหนดขอบเขตการดำเนินงานตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งสามารถดำเนินการทั้งหมด หรือเฉพาะส่วน โดยไม่นับรวมกิจกรรมของห้องสมุดที่ไม่มีนัยสำคัญในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งนี้ ต้องมีการชี้แจงเหตุผลประกอบในกรณีที่ไม่ดำเนินการทั้งหมด

หมวดที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ห้องสมุดต้องมีโครงสร้างพื้นฐานหรือลักษณะกายภาพที่เอื้อต่อการลดการใช้พลังงานและลดกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการให้บริการและการบริหารจัดการห้องสมุด กรณีเป็นอาคารเก่า ต้องมีแผนงานและมาตรการในการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

  1. มีการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
  2. มีแผนงานและมาตรการการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคาร ให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
    2.1 มีการปรับปรุงโครงสร้างอาคารและวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
    2.2 มีการปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพ
    2.3 มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน
    2.4 มีการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยเลือกปลูกพืชที่ร่มรื่น สวยงาม และพืชที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก

หมวดที่ 3 การจัดการทรัพยากรและพลังงาน

ห้องสมุดมีการกําหนดมาตรการในการใช้ทรัพยากรและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

  1. มีแผนงานและมาตรการประหยัดไฟฟ้า น้ำ และทรัพยากร
  2. มีแผนงานและมาตรการลดปริมาณของเสีย
  3. มีข้อกำหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term of Reference : TOR) เพื่อควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ภายในห้องสมุดให้ปฎิบัติตามข้อกำหนดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  4. มีเอกสารการสื่อสารประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ผู้รับบริการและบุคลากรห้องสมุด ประหยัดไฟฟ้า ประหยัดทรัพยากร ตามแผนงานที่กำหนด
  5. มีเอกสารการจัดซื้อ/จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (อ้างอิงจากรายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวลด้อม) เพื่อใช้ในกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุด รวมทั้งการประชุมและจัดนิทรรศการ
  6. มีแผนการบำรุงรักษาระบบต่างๆ ที่มีในห้องสมุดและมีเอกสารแสดงการกำกับติดตามให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
  7. มีเอกสารการบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า กระดาษ และทรัพยากรอื่นๆ มีการรายงานผลและการเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังเพื่อดูพัฒนาการ
  8. มีแผนการจัดส่งเอกสาร และการเดินทาง เพื่อลดเวลา และลดต้นทุนการส่งเอกสารหรือการเดินทางมาประชุม
  9. มีแผนงานและรายงานผลการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือการทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอน

หมวดที่ 4 : การจัดการของเสียและมลพิษ

ห้องสมุดมีการจัดการของเสียและมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ คือ

  1. มีการกำหนดแผนงานและมาตรการการจัดการขยะอย่างเหมาะสม
  2. มีการกำหนดแผนงานและมาตรการจัดการน้ำเสีย
  3. มีการกำหนดแผนงานและมาตรการการจัดการมลพิษทางอากาศอย่างเหมาะสม
  4. มีการกำหนดแผนงานและการดำเนินกิจกรรม 5ส อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจัดพื้นบริการและพื้นที่สำนักงานให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย
  5. มีการกำหนดแผนงานและมาตรการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน

หมวดที่ 5 การบริหารจัดการและการให้บริการห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

ห้องสมุดมีการบริหารจัดการด้านการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ การให้บริการ และการส่งเสริมการเรียนรู้ของกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุดที่สนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. มีประกาศนโยบายการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว และมีแผนงบประมาณสนับสนุนการ
  2. มีแผนงานและเอกสารแสดงผลการจัดกิจกรรมให้บุคลากรห้องสมุด ผู้รับบริการ
  3. มีแผนงานและรายงานการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานและ
  4. มีแผนงานและรายงานผลการให้บริการสืบค้นสารสนเทศ การสอนการรู้สารสนเทศ และการ
  5. มีแผนงานและรายงานผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำหรับผู้รับบริการแต่ละกลุ่มที่มีความสนใจแตกต่างกัน
  6. มีแผนงานและมาตรการรายงานผลการจัดการฝึกอบรมหรือการพัฒนาบุคลากรห้องสมุดให้มีความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นประจำทุกปี
  7. มีแผนงานและมาตรการรายงานผลการจัดกิจกรรมประหยัดพลังงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อม ที่จัดต่อเนื่องตลอดทั้งปี

หมวดที่ 6 บทบาทของบุคลากรห้องสมุดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

  1. มีแผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว โดยผู้บริหารห้องสมุด รวมทั้ง รับฟังความเห็นจากบุคลากรและผู้รับบริการ และเสนอให้คณะกรรมการประจำหน่วยงาน ตลอดจนผู้บริหารระดับเหนือชั้นขึ้นไปรับทราบ ชี้แจงบทบาทด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มรับทราบ ได้แก่ บุคลากรผู้รับบริการและผู้ประกอบการ
  2. มีแผนงานและดำเนินแจ้งบุคลากรห้องสมุดจะต้องเข้าร่วมการอบรมที่หน่วยงานจัด หรือเข้าร่วมการประชุมสัมมนา หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อการเรียนรู้ต่างๆในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหรือสิ่งแวดล้อม และกำหนดภาระงานให้บุคลากรมีส่วนร่วมดำเนินงานในการจัดกิจกรรม และ/หรือ การให้บริการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  3. มีแผนงานและดำเนินการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการที่ดำเนินการในอาคารห้องสมุด หรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้องสมุด ดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) หรือตามรายละเอียดที่ห้องสมุดกำหนด
  4. มีแผนงานและดำเนินแจ้งให้ผู้รับบริการรับทราบนโยบายและขอความร่วมมือในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

หมวดที่ 7 เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

มีความร่วมมือกับห้องสมุดอื่นๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการความรู้หรือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในเรื่องการบริหารจัดการและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

หมวดที่ 8 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขยว

มีการกําหนดตัวชี้วัดการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยการติดตาม ประเมินผลเป็นประจําทุกปี

  1. มีการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น Energy Utilization Index (EUI)
  2. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะ เช่น ปริมาณขยะลดลง และร้อยละของปริมาณขยะที่นำมา Reuse, Recycle เพิ่มขึ้น
  3. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสีย
  4. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ไม่มีเรื่องร้องเรียนจากผู้รับบริการเกี่ยวกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคาร จำนวนครั้งของการล้างระบบปรับอากาศต่อปี เป็นต้น
  5. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก เช่น ร้อยละของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นองค์กรต่อจำนวนผู้มารับบริการ เป็นต้น
  6. มีประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่นร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมที่ผ่านการทดสอบความรู้ หรือ ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านการทดสอบความรู้ เป็นต้น